ใส่ส้นสูงทำไมต้องเป็น ตาปลาที่เท้า !

ใส่ส้นสูงทำไมต้องเป็น ตาปลาที่เท้า !

อีกหนึ่งปัญหาโลกแตกของสาว ๆ ที่ชอบใสส้นสูงมักจะเจอบ่อย ๆ กับ “ตาปลา” ตุ่มเล็ก ๆ ที่ทำให้เราเจ็บจนน้ำตาไหลถ้าเจาะออก เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมตาปลาถึงเกิดขึ้นกับคนที่ใส่ส้นสูงบ่อย ๆ ? สามารถเกิดกับคนที่ใส่รองเท้าแบบอื่นได้หรือไม่ ? มีสาเหตุอื่นที่ไม่ได้เกิดจากการใส่รองเท้าหรือไม่ ? วันนี้ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ เราจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ “ตาปลา” ให้กระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักกับ “ตาปลาที่เท้า” กันสักหน่อย

โรคตาปลาสามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยส่วนมากจะพบในวัยหนุ่มสาว ตาปลาไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อและไม่มีอันตรายหากรักษาอย่างถูกวิธี เพียงแต่สร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วยเท่านั้น ตาปลาเกิดจากการเสียดสีกันระหว่างผิวหนังและรองเท้าจึงเกิดเป็นก้อนขี้ไคลขนาดใหญ่ที่มาจากหนังกำพร้าที่เชื่อมต่อกันจนเป็นตุ่มพอง ทำให้เกิดอาการเจ็บเมื่อไปสัมผัส

ตาปลาที่เท้า แบบแข็งและแบบอ่อน แตกต่างกันอย่างไร ?

  • ตาปลาแบบแข็ง มักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่เกิดการเสียดสีบ่อย ๆ เช่น ฝ่าเท้า สันเท้า หรือข้อพับ จะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้
  • ตาปลาแบบอ่อน มักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่เกิดการเสียดสีไม่มากนัก เช่น ง่ามนิ้วเท้า ตุ่มที่เกิดขึ้นจะเป็นชนิดอ่อน ไม่บาดผิว มีอาการระคายเคียงเพียงเล็กน้อย

ป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจาก “ตาปลาที่เท้า” ง่าย ๆ ด้วยการปรับพฤติกรรม

  • งดใส่ส้นสูง เนื่องจากส้นสูงจะทำให้ให้เท้าผิดรูป โดยเฉพาะส้นสูงที่มีลักษณะเป็นหัวแหลมจะทำให้นิ้วเท้าเกิดการรัดตัว ส้นเท้ายกสูง ทำให้เกิดการเสียดสีและแรงกดที่เท้ามากกว่าปกติ ดังนั้นเรามักจะพบอาการของตาปลาที่เกิดกับคนที่ใส่ส้นสูงเป็นจำนวนมาก
  • เลือกรองเท้าให้เป็น ควรเลือกรองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้าของตัวเอง ไม่รัดแน่นและไม่หลวมจนเกินไปเพื่อลดการเสียดสีของนิ้วเท้า อีกทั้งควรเลือกรองเท้าที่เนื้อไม่บาดผิว สามารถระบายอากาศได้ดี เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
  • ลดการเสียดสี นอกจากการเลือกรองเท้าที่เหมาะสมแล้วยังสามารถลดการเสียดสีในรูปแบบอื่น ๆ หากคุณจำเป็นต้องใส่รองเท้าที่ไม่สบายเท้า สามารถลดแรงกดระหว่างเท้ากับรองเท้าด้วยแผ่นรองที่มีลักษณะนิ่มทำให้เท้ารู้สึกสบายมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำฟองน้ำขนาดเล็กมาระหว่างนิ้วเท้าเพื่อลดการเสียดสีได้อีกด้วย

ตาปลาที่เท้า สามารถรักษาได้กี่วิธี ?

  1. รักษาด้วยยา เหมาะกับตาปลาที่มีขนาดเล็ก การทายาชนิด Salicylic acid หรือ Urea Cream จะช่วยให้ผิวหนังบริเวณนั้นนิ่มลงเรื่อย ๆ และสามารถหลุดลอกไปเองได้
  2. รักษาด้วยการตัดตาปลาออก สามารถทำเองได้ด้วยการแช่น้ำอุ่นและทำการขัดจนตาปลาหลุด หรือสามารถใช้มีดเฉือนในบริเวณที่เป็นตาปลาออกได้
  3. รักษาด้วยการเลเซอร์หรือผ่าตัด เหมาะกับตาปลาที่มีขนาดใหญ่ โดยวิธีนี้จำเป็นต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำเท่านั้น เป็นตาปลาชนิดที่ไม่สามารถรักษาด้วยตัวเองได้

ตาปลาที่เท้า อันตรายหรือไม่ ?

ตาปลาที่เท้าถือเป็นอาการที่ไม่รุนแรงหากรักษาอย่างถูกวิธี ไม่สามารถหายเองได้ตามธรรมชาติต้องทำการรักษาด้วยยาหรือทำการตัดออกเท่านั้น หากพบว่าตาปลามีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการอักเสบ บวม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากตัดออกด้วยตนเองอย่างผิดวิธีอาจจะทำให้เกิดแผลติดเชื้อและนำไปสู่การเป็นบาดทะยักได้ โดยอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการเป็นตาปลามีดังนี้

  • บาดทะยัก สามารถเกิดได้จากการตัดตาปลาผิดวิธีทำให้แผลติดเชื้อหรือการไม่รักษาความสะอาดระหว่างที่มีอาการ แนะนำว่าขั้นตอนนี้ควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทำเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น
  • เชื้อรา มักจะเกิดขึ้นกับตาปลาลักษณะอ่อน หากปล่อยไว้นาน ๆ โดยที่ไม่รักษา ตาปลาแบบอ่อนอาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียและมีเชื้อราแทรกซ้อนได้ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดรวมถึงเท้ามีกลิ่นเหม็นจากเชื้อรา
  • การเดินมีปัญหา เพราะจะเกิดตุ่มหนองบริเวณเท้าทำให้การเดินมีปัญหา เพราะหากเท้าสัมผัสกับวัตถุจะเกิดอาการเจ็บ สามารถบรรเทาได้โดยการใช้เป็นรองเท้าหรือใส่รองเท้าที่ไม่รัดได้

ตาปลา อาจจะดูเป็นอาการที่เล็กน้อย ไม่หนักหนามากนัก แต่ในความเป็นจริงตาปลาสามารถสร้างความเจ็บปวดและความลำบากในชีวิตให้กับคุณได้ง่าย หากรู้ว่าตนเองมีสิทธิเสี่ยงที่จะเป็นตาปลาควรป้องกันไว้แต่เนิ่น ๆ ด้วยการเลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับรูปเท้า ระบายอากาศ รักษาความสะอาด แล้วโรคตาปลาจะอยู่ห่างไกลตัวคุณอย่างแน่นอน

สุขภาพ