เบื่ออาหาร สัญญาณอันตรายจริงหรือ?

เบื่ออาหาร สัญญาณอันตรายจริงหรือ?

หากกล่าวถึงอาการเบื่ออาหาร เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย และเชื่อว่าหลายคนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับอาการนี้ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่น่าจะมีอันตรายอะไร แต่อาการเบื่ออาหารนั้นมีหลายแบบทั้งที่อันตรายและไม่อันตราย ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอาการเบื่ออาหารแต่ละแบบกัน

อาการเบื่ออาหาร คืออะไร

อาการเบื่ออาหาร (Loss of Appetite)  คือ อาการหรือความรู้สึกไม่อยากกินอาหารหรือมีความรู้สึกอยากอาหารน้อยลง แม้จะเป็นอาหารที่ชื่นชอบหรือรับประทานเป็นประจำ เมื่อเห็นก็ไม่รู้สึกอยากกินหรือกินเข้าไปเพียงเล็กน้อยก็รู้สึกไม่อยากกินแต่แล้ว

ชนิดของอาการเบื่ออาหาร

อาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นและส่งผลต่อร่างกายสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ ด้วยกัน คือ

1.เบื่ออาหารแบบชั่วคราว

เป็นอาการที่ไม่อยากกินอาหารหรือต้องการอาหารน้อยลงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วหายไป ซึ่งอาการแบบนี้อาจเกิดขึ้นเป็นประจำหรือนาน ๆ ครั้งก็ได้

2.เบื่ออาหารแบบถาวร

เป็นอาการที่ไม่อยากกินอาหารอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าอาหารนั้นจะมีรูป รส กลิ่น สีที่น่ากินหรือเคยเป็นอาหารที่ชื่นชอบมากแค่ไหนก็ไม่สามารถกระตุ้นความรู้สึกต้องการอาหารให้เพิ่มขึ้นได้

สาเหตุของอาการเบื่ออาหาร

สาเหตุที่ก่อให้เกิดอาหารเบื่ออาหารมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่พบว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะเบื่ออาหารที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายและการใช้ชีวิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.ปัญหาด้านสุขภาพจิต

ปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความกดดัน ความเบื่อหน่าย เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อจิตใจโดยตรง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่อยากกินอาหาร ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  • ปัญหาสุขภาพจิตแบบเฉียบพลัน

คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นและกระทบกับความรู้สึกอย่างทันทีทันใด ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตกใจ เศร้าใจ เสียใจหรือวิตกกังวลอย่างรุนแรงในทันที เช่น การสูญเสียคนที่รัก การรับรู้เกี่ยวกับอาการป่วยที่รุนแรงทั้งของตนเองและคนที่รัก เป็นต้น เมื่อได้รับปัญหาเข้ามาจะส่งผลกระทบกับจิตใจทำให้รู้สึกไม่อยากกินอาหาร

  • ปัญหาสุขภาพจิตแบบเรื่อรัง

คือ การที่ผู้ป่วยต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ได้รับความกดดัน ต้องเจอกับปัญหาตลอดเวลา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเล็กน้อย ทว่าก็ก่อให้เกิดความเครียด ความวิตกได้ ในสภาวะแบบนี้ความรู้สึกไม่อยากอาหารจะค่อย ๆ สะสมทีละน้อยทีละน้อย ปัญหาแบบนี้จะไม่ส่งผลต่อร่างกายในทันที แต่จะทำให้ร่างกายค่อย ๆ เกิดการขาดสารอาหารที่ละน้อย จนในที่สุดเมื่อร่างกายไม่สามารถทนทานต่อสภาวะความเครียด ความกดดันที่เกิดขึ้น ก็จะทำให้รู้สึกไม่อยากอาหารแบบเฉียบพลันได้

2.ปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย

ปัญหาด้านสุขภาพร่างกายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาหารเบื่ออาหารได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นส่วนน้อย แต่ปัญหาร่างกายที่ก่อให้เกิดภาวะนี้กลับมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งปัญหาร่างกายที่ก่อให้เกิดอาหารเบื่ออาหารสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

2.1 อาการเจ็บป่วย

ผู้ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มักจะมีอาการเบื่ออาหาร เช่น คนที่เป็นหวัด เป็นไข้ เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งหัวใจวาย โรคไตวาย โรคปอดชนิดเรือรัง โรคไทรอยด์ ผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้จะมีอาการเบื่ออาหารเมื่ออาการของโรคแสดงออกมา ผู้ป่วยที่มีอาการเบื่ออาหารเมื่อรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุของอาการเบื่ออาหารได้แล้ว อาการเบื่ออาหารก็จะหายไป และกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติ

2.2 การใช้ยา

การใช้ยาบางชนิด เมื่อรับประทานยาเข้าไปจะมีอาการข้างเคียง ทำให้ผู้กินรู้สึกเบื่ออาหาร ไม่อยากกินอาหาร ตัวยาที่มักก่อให้เกิดภาวะเบื่ออาหาร เช่น ยาปฏิชีวนะ การให้เคมีบำบัดสำหรับรักษามะเร็ง ยาโคเดอีน (Codeine)  มอร์ฟีน เป็นต้น

อาการเบื่ออาหาร

ผู้ที่มีอาการเบื่ออาหารจะรู้สึกไม่อยากกินอาหารหรือมีความต้องการอาการน้อยลง ซึ่งอาการเบื่ออาหารจะมีแบบที่ร่างกายมีความหิว แต่ความรู้สึกไม่อยากกิน กับแบบที่ร่างกายไม่มีความหิวและไม่มีความรู้สึกอยากกินร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้กินอาหารเข้าไป โดยอาการของผู้เบื่ออาหารมีดังนี้

1.กินอาหารลดลงsหรือไม่กินอาหารเลย

2.น้ำหนักลดลง อย่างต่อเนื่องและในบางรายน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว

3.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เนื่องจากร่างกายเกิดภาวะขาดสารอาหารที่จำเป็น

5.รู้สึกง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา

6.เวียนศีรษะ หน้ามืด

อาการที่กล่าวมานี้จะเกิดขึ้นทีละน้อย โดยเริ่มจากอาการเพียงเล็กน้อย หากยังมีภาวะเบื่ออาหารและไม่กินอาหารต่อไปเรื่อย ๆ จนร่างกายเข้าสู่ภาวะขาดสารอาหาร ผู้ป่วยจะเป็นลมหมดสติได้

วิธีรักษาอาการเบื่ออาหาร

ก่อนที่จะทำการรักษาอาการเบื่ออาหารได้ จะต้องทำการวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าวก่อนจึงจะสามารถทำการรักษาอาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นให้หายได้ดังนี้

1.การรักษาอาหารจากปัญหาสุขภาพจิต

การรักษาอาการแบบนี้หากมีอาการรุนแรงจะต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วยยา แต่หากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถทำการบำบัดได้ด้วยตนเอง ด้วยการถอยออกจากปัญหาหรือหาทางแก้ไขปัญหา มองโลกในแง่ดี นั่งสมาธิ ปล่อยวางก็จะช่วยให้ความเครียด ความกดดัน ความวิตกกังวลลดลง อาการเบื่ออาหารก็จะหายไปได้

 

2.การรักษาอาการจากปัญหาสุขภาพกาย

ต้องทำการรักษาอาการป่วยที่เกิดขึ้น โดยการกินยาตามอาการหรือตามที่แพทย์สั่งและในระหว่างที่เกิดมีอาการควรรับประทานโดยการแบ่งเป็นมื้อย่อย ๆ หลาย ๆ มื้อแทนการกินมื้อใหญ่ และเลือกกินแต่อาหารที่ให้สารอาหารและพลังงานในปริมาณสูง เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย สำหรับผู้ที่ใช้ยาเมื่อเลิกใช้ยาหรือเปลี่ยนไปใช้ตัวยาชนิดอื่นที่มีคุณสมบัติการรักษาเหมือนกัน อาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นก็จะหายไปได้เอง

จะเห็นว่าอาการเบื่ออาหารเป็นอาการที่มีอันตรายไม่มากหากทำการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น แต่หากปล่อยให้เกิดอาการเบื่ออาหารต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานแล้ว จะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอและเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อเกิดอาการเบื่ออาหารจึงควรรีบหาสาเหตุและทำการรักษาทันที

สุขภาพ